เชื้อรา

โรค เชื้อรา ที่เล็บ (onychomycosis) หมายถึง การติดเชื้อราซึ่งรวมถึงราที่เป็นสายรา หรือ เชื้อราในรูปของยีสต์ (ราที่มีลักษณะเป็นเซลล์กลม) ที่เล็บ โดยปกติแล้วเชื้อราที่กล่าวมานี้มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการเพาะเชื้อรา เป็นต้น

ในประเทศไทยชนิดของ เชื้อรา ที่พบบ่อยๆ คือ เชื้อกลากแท้(dermatophytes) เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) และเกิดจากยีสต์(yeasts) โดยเฉพาะเชื้อแคนดิดา (Candida)

เชื้อรา

อาการของเชื้อราที่เล็บ

– เล็บเปลี่ยนสี เล็บของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว

– เล็บหนาขึ้นหรือผิดรูป เล็บของผู้ป่วยอาจมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดแต่ง

– มีอาการเจ็บที่เล็บ โดยเฉพาะเมื่อกดลงไปแรง ๆ บริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา

– เล็บเปราะ เล็บที่ติดเชื้อราจะเปราะและแตกหักง่าย

– คันผิวหนังบริเวณเล็บ ในบางครั้ง ผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อราอาจเกิดอาการคัน บวม หรือแดง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บ

– ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

– สวมรองเท้าที่คับหรืออับชื้น

– มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ เล็บนิ้วเท้า

– ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาด เป็นต้น

– เชื้อราในเล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่เป็นโรค

– เป็นโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งเกิดจากเชื้อราบนผิวหนังบริเวณนิ้วเท้า โดยเชื้อราอาจลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้าได้ หากผู้ป่วยไม่ได้รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างทันท่วงที

– เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

– มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

– สูบบุหรี่

การป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บ

– หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าบนพื้นที่ชื้น น้ำขัง เช่น ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ
– ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และที่สำคัญหลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
– สวมรองเท้าและถุงเท้าจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อการระบายอากาศบริเวณเท้าได้ดี
– สวมรองเท้าที่ใส่แล้วกำลังพอดี ไม่คับจนเกินไป
– ใช้ถุงเท้าที่สะอาดอยู่เสมอ
– หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา ป้องกันเชื้อราลุกลาม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราที่เล็บ

สำหรับผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บรุนแรง อาจมีความเป็นไปได้ที่เล็บอาจไม่กลับมาในสภาพปกติ นอกจากนั้นผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำพวกที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งปกติการไหลเวียนเลือดและการรับรู้จากเส้นประสาทที่เท้ามักลดลง เชื้อราในเล็บเท้าอาจแพร่กระจายก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงบริเวณเท้าได้

การรักษาเชื้อราที่เล็บด้วยตนเอง

– รักษาความสะอาดของเล็บและหลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น

– ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา

ที่มา

pobpad.com

sevenplusclinic.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ corpmedzambia.com